.....ยินดีต้อนรับ สู่เว็บบล็อกของ สมบูรณ์ เว้ยเฮ้ย ^^.....

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วีธีระบบ (System Approach)

วีธีระบบ (System Approach)
         วิธีระบบ คือแนวทางในการพิจารณาและแก้ไขปัญหา ซึ่งแนวทางดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด ( Allen, Joseph and Lientz, Bennet p. 1978)
         ในปัจจุบันจะพบว่า วิธีระบบนั้นถูกนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง วิธีระบบจะเป็นตัวจัดโครงร่าง (Skeleton) และกรอบของงานเพื่อให้ง่ายต่อการที่จะนำเทคนิค วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ มาใช้ การทำงานของวิธีระบบจะเป็นการทำงานตามขั้นตอน (step by step) ตามแนวของตรรกศาสตร์ ผู้ใช้วิธีระบบจะต้องเชื่อว่า “ ระบบ” ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (interrelated parts) และเชื่อว่าประสิทธิผล (effectiveness) ของระบบนั้นจะต้องดูจากผลการทำงานของระบบมิได้ดูจากการทำงานของระบบย่อยแต่ละระบบ
            ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในระบบและค้นหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบย่อย โดยนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ซึ่งเรียกกระบวนการนี้ว่า “วิธีระบบ” (System Approach)


.....วิธีระบบ จึงหมายถึง วิธีระบบเป็นวิธีการรวมหน่วยย่อยๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กันโดยการจัดระเบียบอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
องค์ประกอบของระบบ
     1. ข้อมูลป้อนเข้า (input) ได้แก่วัตถุดิบ ข้อมูลดิบ
     2. กระบวนการ (process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอนซึ่งเป็นวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีก็ได้
     3. ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานที่ได้มาจากข้อมูลป้อนเข้าและกระบวนการซึ่งจะนำไปประเมินผล
     4. ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ได้แก่ ผลการประเมินการทำงานของระบบ ซึ่งสามารถประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน

ขั้นตอนการจัดระบบขั้นตอนการจัดการ
1. ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ
     1.1 เคราะห์แนวทางการปฏิบัติ (mission analysis) คือการพิจารณาทิศทางที่จะดำเนินการจุดมุ่งหมายของระบบ เพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
     1.2 วิเคราะห์หน้าที่ (functional analysis) เป็นการกำหนดหน้าที่โดยละเอียดตามที่กำหนดไว้ในแนวทางการปฏิบัติงาน
     1.3 วิเคราะห์งาน (task analysis) กำหนดไว้ในขั้นวิเคราะห์หน้าที่ และงาน
     1.4 วิเคราะห์วิธีการและสื่อ (methods-means analysis) เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติ กลวิธีและสื่อที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย
2 ขั้นการสังเคราะห์ระบบวิธีการสังเคราะห์ระบบ (system synthesis) ช่วยให้มีสมดุลของขั้นตอนต่างๆ ในการแก้ปัญหามีขั้นย่อยดังนี้
     2.1 การเลือกวิธีการหรือกลวิธี
     2.2 การแก้ปัญหา
     2.3 การประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน
 3.ขั้นการสร้างแบบจำลองวิธีการเขียนแบบจำลอง อาจเขียนได้หลายแบบ
     3.1 แบบจำลองแนวนอน
     3.2 แบบจำลองแนวตั้ง
     3.3 แบบจำลองแนวนอนผสมแนวตั้ง
     3.4 แบบจำลองแบบวงกลมหรือวงรี
     3.5 แบบจำลองกึ่งแผนภาพกึ่งรูปภาพ
     3.6 แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์หรือคอมพิวเตอร์
4. ขั้นการจำลองสถานการณ์เพื่อปรับปรุงหรือแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ระบบก่อนนำไปใช้จริง
วิธีระบบในการเรียนการสอน
1. ระบบการเรียนการสอนของเกอร์ลาชและอีชี
      1.1 การกำหนดจุดมุ่งหมาย
      1.2 การกำหนดเนื้อหา
      1.3 การประเมินพฤติกรรมเบื้องต้น
      1.4 การกำหนดกลยุทธวิธีการสอน
      1.5 การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน
      1.6 การกำหนดเวลาเรียน
      1.7 การจัดสถานที่เรียน
      1.8 การเลือกสรรทรัพยากร
      1.9 การประเมิน
      1.1 0การวิเคราะห์ผลย้อนกลับ
2. ระบบการผลิตชุดการสอนแผนจุฬา
3. ระบบการสอนตามแนวพุทธวิธีวิธีระบบกับสื่อการเรียนการสอน
     1. การผลิตสื่อ
     2.การใช้สื่อ
3. การเก็บรักษาสื่อบทสรุปวิธีระบบเป็นผลของการรวมหน่วยย่อยๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กันโดยการจัดระเบียบและสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น